Menu Close

แคลเซียมมีผลโดยตรงกับ โรคมะเร็ง จริง หรือไม่ อย่างไร

แคลเซียมกับการป้องกันการเกิดมะเร็ง
1. แคลเซียมคืออะไร
แคลเซียมเป็นสารเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย พบได้มากในนม โยเกิร์ต เนยแข็ง ผักใบสีเขียว ข้าว ถั่วลันเตา ถั่วลิสง แคลเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือด หยุดไหลเวลาเกิดบาดแผล ช่วยให้การทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจปกติ
2. ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการ
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการขึ้นอยู่กับอายุ โดยช่วงอายุ 9-18 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการแคลเซียมมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่กระดูกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

ตารางแสดงปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการตามช่วงอายุ

1997 National Academy of Sciences Panel on Calcium and Related Nutrients

สำหรับผู้ใหญ่ รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตรและเด็กอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ปริมาณแคลเซียมสูงสุดที่ปลอดภัยต่อ  ร่างกาย คือ 2.5 กรัมต่อวัน

3. ปริมาณแคลเซียมที่มีอยู่ในอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

แคลเซียมพบมากในอาหารหลายชนิด เช่น ผักใบสีเขียว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ปลา

ตารางแสดงปริมาณแคลเซียมที่มีอยู่ในอาหารประเภทต่าง ๆ

U.S Department of Health and Human Service Dietary Guidelines for Americans 2005

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมมักประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต หรือแคลเซียมซิเตรท ซึ่งแคลเซียมทั้งสอง  ประเภทจะมีปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน โดยแคลเซียมคาร์บอเนตมีปริมาณ  แคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมได้ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแคลเซียมซิเตรทมีปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมไป  ใช้ประโยชน์ได้เพียง 21 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นในการเลือกซื้ออาหารควรดูข้อมูลทางโภชนาการเพื่อเปรียบเทียบ  ดูปริมาณสารอาหารที่ได้รับ

4. การรับประทานแคลเซียมเสริม ปลอดภัยหรือไม่

คนส่วนใหญ่สามารถรับประทานแคลเซียมได้อย่างปลอดภัย ทั้งแคลเซียมที่ได้รับจากการรับประทานอาหารและจาก  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่ร่างกายต้องการ คือ 2.5 กรัมต่อวัน

การรับประทานแคลเซียมปริมาณมากเกินไป คือ เกิน 5 กรัมต่อวัน หรือเกิน 3 กรัมต่อวันในผู้ที่มีการทำงานของไต ผิดปกติ จะทำให้เกิดผลเสียตามมา โดยผลข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ นิ่วในไต ปริมาณแคลเซียมในเลือดสูง ไตวาย  นอกจากนี้ การรับประทานยาลดกรดที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตเป็นส่วนประกอบเป็นระยะ เวลานานๆ จะทำให้มีแคลเซียมสะสมที่ไตแล้วทำให้เกิดภาวะไตวายตามมาได้

 

5. การรับประทานแคลเซียมสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้หรือไม่

– มีงานวิจัยของ American Cancer Society’s Cancer Prevention Study II Nutrition Cohort ได้ทำการศึกษาในชายและหญิงมากกว่า 120,000 คน พบว่าคนที่รับประทานแคลเซียมปริมาณสูง มีโอกาสเกิด มะเร็งลำไส้น้อยกว่าคนที่รับประทานแคลเซียมปริมาณต่ำ อย่างไรก็ตามพบว่าการรับประทานแคลเซียมที่มากกว่า 1200 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่ได้ทำให้เกิดผลดีเพิ่มขึ้น ถ้าแคลเซียมที่ได้รับมาจากการรับประทานอาหาร พบว่าไม่ สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งสำไส้แต่ถ้าเป็นแคลเซียมที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะช่วยลด การเกิดมะเร็งได้
โดยถ้ารับประทานตั้งแต่ 500 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไปจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงลงได้ถึง 31 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่นำมาศึกษาทั้งหมด

– งานวิจัยของ Nurses’ Health Study and the Health Professionals Follow-up Study ที่ศึกษา ในชายและหญิงมากกว่า 135,000 คน พบว่าคนที่รับประทานแคลเซียมมากกว่า 700 มิลลิกรัมต่อวันจะช่วยลด โอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายได้ 35-45 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ได้รับแคลเซียมน้อยกว่า 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ไม่ได้มีส่วนช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนต้น

– มีการศึกษาในสวีเดน 61,000 คน พบว่าผู้ที่ได้รับแคลเซียม 800-1000 มิลลิกรัมต่อวันลดโอกาสในการเกิดมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายลงได้ 28 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ได้รับแคลเซียม 400-500 มิลลิกรัมต่อวัน

– งานวิจัยของ National Institutes of Health-American Association of Retired Persons (NIH-AARP) Diet and Health Study ศึกษาในผู้ชาย 293,000 คน ผู้หญิง 198,000 คน พบว่าการ รับประทานแคลเซียมปริมาณสูงในแต่ละวัน ทั้งจากอาหารและจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารช่วยลดการเกิดมะเร็ง ลำไส้ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ในผู้ชาย และ 30 เปอร์เซ็นต์ในผู้หญิง

– งานวิจัยของ Calcium Polyp Prevention Study and European Cancer Prevention Organization Intervention Study พบว่าการรับประทานแคลเซียมวันละ 1200-2000 มิลลิกรัม จะช่วยลดการเกิดเนื้องอกในลำไส้ได้ ซึ่งเนื้องอกเหล่านี้มีโอกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งตามมาได้

– การศึกษาของ Calcium Polyp Prevention Study ในคนที่มีประวัติเป็นเนื้องอกที่ลำไส้ 930 คน แบ่งเป็น กลุ่มที่ได้รับแคลเซียมวันละ 1200 มิลลิกรัม เป็นเวลา 4 ปี เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกผลการศึกษาที่ 3 ปี พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคลเซียมมีโอกาสเกิดการกลับมาเป็นซ้ำของเนื้องอกลดลง 20 เปอร์เซ็นต์

– การศึกษาของ European Cancer Prevention Organization Intervention Study ในคนที่มีประวัติ เป็นเนื้องอกที่ลำไส้ 665 คน แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม, กลุ่มที่ 1 จะได้รับแคลเซียม 2 กรัมต่อวัน, กลุ่มที่ 2 จะได้ รับผลิตภัณฑ์เสริมใยอาหาร 3 กรัมต่อวัน, กลุ่มที่ 3 ได้รับยาหลอก พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคลเซียมมีโอกาสการกลับมา เป็นซ้ำของเนื้องอกที่ลำไส้น้อยที่สุด แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

6. การรับประทานแคลเซียมสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งอื่นๆ ได้หรือไม่

– มีการศึกษาในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่แข็งแรง 1200 คน โดยให้รับประทานแคลเซียม 300-600 มิลลิกรัม ต่อวัน ร่วมกับวิตามินดีเป็นเวลา 4 ปี เปรียบเทียบกับยาหลอก พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีมีโอกาส เกิดโรคมะเร็งอื่นๆ น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก 60 เปอร์เซ็นต์

– การศึกษาของ European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition ในชายมากกว่า 142,000 คน พบว่าการรับประทานโปรตีนหรือแคลเซียมปริมาณสูงทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น

– การศึกษาของ National Cancer Institute’s (NCI) Prostate, Lung, Colorectal, and Ovarian (PLCO) Cancer Screening Trial ก็พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากกับการ รับประทานแคลเซียมปริมาณสูง โดยเฉพาะแคลเซียมที่ได้จากผลิตภัณฑ์ไขมันต่ำ

– แต่มีผลการศึกษาที่ขัดแย้งของ NIH-AARP Diet and Health Study ที่พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณแคลเซียมที่รับประทานกับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

การศึกษาของ Nurses’ Health Study ในหญิง 30,000 คน พบว่าหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนกลุ่มที่ ได้รับแคลเซียมปริมาณสูง (มากกว่า 800 มิลลิกรัมต่อวัน) มีโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านมน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ รับแคลเซียมปริมาณต่ำ (น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน) แต่ไม่ได้ประโยชน์ในหญิงวัยหลังหมดประจำเดือน

7. แคลเซียมช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้อย่างไร
กลไกที่แคลเซียมช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากการที่แคลเซียมจะไปจับตัวกับกรดในระบบทางเดิน อาหารทำให้ลดปริมาณกรดที่จะไปทำลายเซลล์ของผนังลำไส้ และยังกระตุ้นให้เซลล์ที่ถูกทำลายได้มีโอกาสซ่อมแซมตัวเอง นอกจากนี้แคลเซียมยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์มากเกินไปจนเกิดการกลายเป็นเซลล์มะเร็งในอนาคตและ ช่วยให้กลไกการทำงานของเซลล์เป็นปกติ

8. ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่างไร
แคลเซียมสามารถถูกดูดซึมผ่านผนังเซลล์ผ่านทั้งทางกลไกที่ต้องใช้พลังงานและไม่ต้องใช้พลังงาน

9. สถาบันมะเร็งแห่งชาติแนะนำให้รับประทานแคลเซียมเสริมเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้หรือไม่
ถึงแม้จะมีการศึกษาพบว่าแคลเซียมมีส่วนช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ แต่หลักฐานที่แสดงถึงประโยชน์ของการรับประทาน แคลเซียมเสริมยังมีอยู่น้อย ดังนั้นจึงยังไม่มีการแนะนำให้รับประทานแคลเซียมเพื่อลดการเกิดโรคมะเร็งทุกประเภท

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล :: https://www.chulacancer.net/patient-list-page.php?id=356


 

 

แคลเซียมกับการป้องกันการเกิดมะเร็ง
1. แคลเซียมคืออะไร
แคลเซียมเป็นสารเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย พบได้มากในนม โยเกิร์ต เนยแข็ง ผักใบสีเขียว ข้าว ถั่วลันเตา ถั่วลิสง แคลเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือด หยุดไหลเวลาเกิดบาดแผล ช่วยให้การทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจปกติ
2. ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการ
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการขึ้นอยู่กับอายุ โดยช่วงอายุ 9-18 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการแคลเซียมมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่กระดูกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
ตารางแสดงปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการตามช่วงอายุ
1997 National Academy of Sciences Panel on Calcium and Related Nutrients
สำหรับผู้ใหญ่ รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตรและเด็กอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ปริมาณแคลเซียมสูงสุดที่ปลอดภัยต่อ  ร่างกาย คือ 2.5 กรัมต่อวัน
3. ปริมาณแคลเซียมที่มีอยู่ในอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
แคลเซียมพบมากในอาหารหลายชนิด เช่น ผักใบสีเขียว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ปลา
ตารางแสดงปริมาณแคลเซียมที่มีอยู่ในอาหารประเภทต่าง ๆ
U.S Department of Health and Human Service Dietary Guidelines for Americans 2005
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมมักประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต หรือแคลเซียมซิเตรท ซึ่งแคลเซียมทั้งสอง  ประเภทจะมีปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน โดยแคลเซียมคาร์บอเนตมีปริมาณ  แคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมได้ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแคลเซียมซิเตรทมีปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมไป  ใช้ประโยชน์ได้เพียง 21 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นในการเลือกซื้ออาหารควรดูข้อมูลทางโภชนาการเพื่อเปรียบเทียบ  ดูปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
4. การรับประทานแคลเซียมเสริม ปลอดภัยหรือไม่
คนส่วนใหญ่สามารถรับประทานแคลเซียมได้อย่างปลอดภัย ทั้งแคลเซียมที่ได้รับจากการรับประทานอาหารและจาก  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่ร่างกายต้องการ คือ 2.5 กรัมต่อวัน
การรับประทานแคลเซียมปริมาณมากเกินไป คือ เกิน 5 กรัมต่อวัน หรือเกิน 3 กรัมต่อวันในผู้ที่มีการทำงานของไต ผิดปกติ จะทำให้เกิดผลเสียตามมา โดยผลข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ นิ่วในไต ปริมาณแคลเซียมในเลือดสูง ไตวาย  นอกจากนี้ การรับประทานยาลดกรดที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตเป็นส่วนประกอบเป็นระยะ เวลานานๆ จะทำให้มีแคลเซียมสะสมที่ไตแล้วทำให้เกิดภาวะไตวายตามมาได้
 
5. การรับประทานแคลเซียมสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้หรือไม่
– มีงานวิจัยของ American Cancer Society’s Cancer Prevention Study II Nutrition Cohort ได้ทำการศึกษาในชายและหญิงมากกว่า 120,000 คน พบว่าคนที่รับประทานแคลเซียมปริมาณสูง มีโอกาสเกิด มะเร็งลำไส้น้อยกว่าคนที่รับประทานแคลเซียมปริมาณต่ำ อย่างไรก็ตามพบว่าการรับประทานแคลเซียมที่มากกว่า 1200 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่ได้ทำให้เกิดผลดีเพิ่มขึ้น ถ้าแคลเซียมที่ได้รับมาจากการรับประทานอาหาร พบว่าไม่ สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งสำไส้แต่ถ้าเป็นแคลเซียมที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะช่วยลด การเกิดมะเร็งได้
โดยถ้ารับประทานตั้งแต่ 500 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไปจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงลงได้ถึง 31 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่นำมาศึกษาทั้งหมด
– งานวิจัยของ Nurses’ Health Study and the Health Professionals Follow-up Study ที่ศึกษา ในชายและหญิงมากกว่า 135,000 คน พบว่าคนที่รับประทานแคลเซียมมากกว่า 700 มิลลิกรัมต่อวันจะช่วยลด โอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายได้ 35-45 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ได้รับแคลเซียมน้อยกว่า 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ไม่ได้มีส่วนช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนต้น
– มีการศึกษาในสวีเดน 61,000 คน พบว่าผู้ที่ได้รับแคลเซียม 800-1000 มิลลิกรัมต่อวันลดโอกาสในการเกิดมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายลงได้ 28 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ได้รับแคลเซียม 400-500 มิลลิกรัมต่อวัน
– งานวิจัยของ National Institutes of Health-American Association of Retired Persons (NIH-AARP) Diet and Health Study ศึกษาในผู้ชาย 293,000 คน ผู้หญิง 198,000 คน พบว่าการ รับประทานแคลเซียมปริมาณสูงในแต่ละวัน ทั้งจากอาหารและจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารช่วยลดการเกิดมะเร็ง ลำไส้ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ในผู้ชาย และ 30 เปอร์เซ็นต์ในผู้หญิง
– งานวิจัยของ Calcium Polyp Prevention Study and European Cancer Prevention Organization Intervention Study พบว่าการรับประทานแคลเซียมวันละ 1200-2000 มิลลิกรัม จะช่วยลดการเกิดเนื้องอกในลำไส้ได้ ซึ่งเนื้องอกเหล่านี้มีโอกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งตามมาได้
– การศึกษาของ Calcium Polyp Prevention Study ในคนที่มีประวัติเป็นเนื้องอกที่ลำไส้ 930 คน แบ่งเป็น กลุ่มที่ได้รับแคลเซียมวันละ 1200 มิลลิกรัม เป็นเวลา 4 ปี เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกผลการศึกษาที่ 3 ปี พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคลเซียมมีโอกาสเกิดการกลับมาเป็นซ้ำของเนื้องอกลดลง 20 เปอร์เซ็นต์
– การศึกษาของ European Cancer Prevention Organization Intervention Study ในคนที่มีประวัติ เป็นเนื้องอกที่ลำไส้ 665 คน แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม, กลุ่มที่ 1 จะได้รับแคลเซียม 2 กรัมต่อวัน, กลุ่มที่ 2 จะได้ รับผลิตภัณฑ์เสริมใยอาหาร 3 กรัมต่อวัน, กลุ่มที่ 3 ได้รับยาหลอก พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคลเซียมมีโอกาสการกลับมา เป็นซ้ำของเนื้องอกที่ลำไส้น้อยที่สุด แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
6. การรับประทานแคลเซียมสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งอื่นๆ ได้หรือไม่
– มีการศึกษาในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่แข็งแรง 1200 คน โดยให้รับประทานแคลเซียม 300-600 มิลลิกรัม ต่อวัน ร่วมกับวิตามินดีเป็นเวลา 4 ปี เปรียบเทียบกับยาหลอก พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีมีโอกาส เกิดโรคมะเร็งอื่นๆ น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก 60 เปอร์เซ็นต์
– การศึกษาของ European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition ในชายมากกว่า 142,000 คน พบว่าการรับประทานโปรตีนหรือแคลเซียมปริมาณสูงทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น
– การศึกษาของ National Cancer Institute’s (NCI) Prostate, Lung, Colorectal, and Ovarian (PLCO) Cancer Screening Trial ก็พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากกับการ รับประทานแคลเซียมปริมาณสูง โดยเฉพาะแคลเซียมที่ได้จากผลิตภัณฑ์ไขมันต่ำ
– แต่มีผลการศึกษาที่ขัดแย้งของ NIH-AARP Diet and Health Study ที่พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณแคลเซียมที่รับประทานกับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
การศึกษาของ Nurses’ Health Study ในหญิง 30,000 คน พบว่าหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนกลุ่มที่ ได้รับแคลเซียมปริมาณสูง (มากกว่า 800 มิลลิกรัมต่อวัน) มีโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านมน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ รับแคลเซียมปริมาณต่ำ (น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน) แต่ไม่ได้ประโยชน์ในหญิงวัยหลังหมดประจำเดือน
7. แคลเซียมช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้อย่างไร
กลไกที่แคลเซียมช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากการที่แคลเซียมจะไปจับตัวกับกรดในระบบทางเดิน อาหารทำให้ลดปริมาณกรดที่จะไปทำลายเซลล์ของผนังลำไส้ และยังกระตุ้นให้เซลล์ที่ถูกทำลายได้มีโอกาสซ่อมแซมตัวเอง นอกจากนี้แคลเซียมยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์มากเกินไปจนเกิดการกลายเป็นเซลล์มะเร็งในอนาคตและ ช่วยให้กลไกการทำงานของเซลล์เป็นปกติ
8. ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่างไร
แคลเซียมสามารถถูกดูดซึมผ่านผนังเซลล์ผ่านทั้งทางกลไกที่ต้องใช้พลังงานและไม่ต้องใช้พลังงาน
9. สถาบันมะเร็งแห่งชาติแนะนำให้รับประทานแคลเซียมเสริมเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้หรือไม่
ถึงแม้จะมีการศึกษาพบว่าแคลเซียมมีส่วนช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ แต่หลักฐานที่แสดงถึงประโยชน์ของการรับประทาน แคลเซียมเสริมยังมีอยู่น้อย ดังนั้นจึงยังไม่มีการแนะนำให้รับประทานแคลเซียมเพื่อลดการเกิดโรคมะเร็งทุกประเภท
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล :: https://www.chulacancer.net/patient-list-page.php?id=356